に出る และ を出る ต่างกันยังไง ? อย่าให้ข้อสอบหลอกเราได้ ไปหาคำตอบกัน!

に出る

กริยา 出る แต่เดิมมีความหมายว่า “ออก” ทำให้บางครั้งผู้เรียนเกิดความสับสน จนไม่สามารถเลือกใช้คำช่วยได้ถูกต้อง ในบทความนี้เราจะไปทำความเข้าใจคำช่วยที่แตกต่างกันนี้ว่า ส่งผลให้คำศัพท์เกิดความหมายที่ต่างแตกต่างกันไปได้อย่างไร

การใช้งานคำช่วย を

ในระดับ JLPT N5 เราจะได้เรียนคำช่วย を ว่าเป็นกรรมตรงที่ใช้ระบุกรรมของกริยา เช่น กินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง ดีดกีต้าร์ ฯลฯ แต่ในระดับ JLPT N4 นี้เราจะได้เรียนรู้อีกวิธีการใช้งานของมัน คือ การใช้ชี้บอกสถานที่ที่เราผ่าน ทะลุ ลอดหรือข้ามออกมา ดังนั้นหากเจอ ~を出る สังเกตได้เลยว่าจะใช้กับคำนามที่เป็นสถานที่ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่

ตัวอย่างที่ 1 : 家を出る。(ie o deru)
= ออกจากบ้าน
*ผ่านประตูบ้านออกมาข้างนอก*

ตัวอย่างที่ 2 : 道を渡る。(michi o wataru)
= ข้ามถนน
*ข้ามถนนจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่ง*

ตัวอย่างที่ 3 : バスを降りる。(basu o oriru)
= ลงจากรถบัส
*ผ่านประตูรถบัสออกมาข้างนอกตัวรถ*

การใช้งานคำช่วย に

คำช่วย に เป็นคำช่วยที่มีหลากหลายหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น

  1. ใช้บอกจุดเวลาที่เกิดเหตุการณ์ หรือการกระทำขึ้น
  2. ใช้บอกจุดหมาย หรือปลายทาง
  3. บอกความเปลี่ยนแปลง
  4. บอกคน หรือสิ่งที่เป็นผู้รับผลกระทบจากการกระทำ

คอร์สติวสอบ JLPT

แนะนำให้อ่าน : วิธีการใช้ よかった (โยะคัตตะ) แบบคนญี่ปุ่น เขาใช้กันยังไง พูดตอนไหนบ้าง ?

แม้จะใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ แต่ใจความหลักของคำช่วย に คือ การบอก “จุด” ~に出る ให้ภาพลักษณ์ว่า เราออกไปสู่สิ่งนั้น ๆ เช่น ออกไปสู่การแข่งขัน ออกไปสู่การประชุม เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราเข้าร่วมจึงมีความหมายว่า “เข้าร่วม” ไปโดยปริยาย

ตัวอย่างที่ 4 : 私の代わりに会議に出て。(watashi no kawarimi kaigi ni dete)
= ช่วยเข้าประชุมแทนฉันหน่อยนะ

ตัวอย่างที่ 5 : 来月試合に出るから、毎日練習している。
(raigetsu shiai ni deru kara, mainichi renshuu shiteiru)
= เพราะว่าเดือนหน้าจะเข้าร่วมการแข่งขัน เลยฝึกซ้อมทุกวันเลย

ตัวอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำช่วย を และ に กับกริยาอื่น ๆ

นอกจาก 出る แล้ว ยังมีกริยาอื่น ๆ ที่หลายคนยังสับสนว่าควรจะใช้คำช่วยอะไร จึงควรทำความเข้าใจคำช่วยให้ดีเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจไวยากรณ์ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างที่ 6 : ここに入ってください。(koko ni haitte kudasai)
= กรุณาเข้ามาในนี้
*กริยาเข้า คือ บอกจุดว่าเราจะเข้าไปอยู่ ณ จุดไหน จึงใช้คำช่วย に*

ตัวอย่างที่ 7 : あの椅子に座ってもいいです。(ano isu ni suwattemo ii desu)
= นั่งเก้าอี้ตัวนั้นได้เลยนะคะ
*การนั่ง คือ การบอกว่าตัวของเราจะไปอยู่ตรงจุดไหน เวลานั่งลงตรงไหนจึงใช้คำช่วย に*

ตัวอย่างที่ 8 = 週末はいつも公園を散歩する。(shuu matsu wa itsumo kou-en o sanpo suru)
= สุดสัปดาห์จะเดินเล่นที่สวนสาธารณะเป็นประจำ
*เวลาเราเดินเล่น เราเดินไปรอบ ๆ ทั่ว ๆ ผ่านตรงนั้นตรงนี้ คำช่วยจึงเป็น を*

ตัวอย่างที่ 9 : 鳥は空を飛ぶ。(tori wa sora o tobu)
= นกบินบนฟ้า
*เพราะนกไม่ได้บินอยู่กับที่ แต่บินไปทั่ว ๆ ฟ้า*

ตัวอย่างที่ 10 : 交差点を右折する。(kousaten o usetsu suru)
= เลี้ยวขวาตรงสี่แยก
*สี่แยกเป็นแค่จุดสังเกตที่เราเลี้ยวผ่านมันไปเท่านั้น*

ข้อสรุป

ความหมายที่แตกต่างกันของ ~に出る และ ~を出る เกิดจากคำช่วยที่แสดงหน้าที่แตกต่างกัน จึงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป นอกจากกริยา 出る ยังมีกริยาอื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจยังสับสนกับการใช้งาน จึงควรศึกษาเรื่องคำช่วยให้เข้าใจอย่างแม่นยำ ที่สำคัญอย่าลืมหมั่นสังเกตประโยคตัวอย่างเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการใช้งานภาษาญี่ปุ่น หากสนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์กับเรา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดคอร์สต่าง ๆ ได้ผ่านทางเพจเรียนภาษาญี่ปุ่นกับเอริได้เลย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save