เผยเคล็ดลับ! วิธีบอกเวลาเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วยวิธีง่าย ๆ ฉบับเข้าใจง่ายสไตล์เอริ

บอกเวลาภาษาญี่ปุ่น

สวัสดีค่า~เอริเซ็นเซเองนะคะ วันนี้ก็ได้นำเอาสาระความรู้เกี่ยวกับการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ มาฝากทุก ๆ คนอีกเช่นเคย! เชื่อว่าหลายคนที่กำลังเรียนเกี่ยวกับเรื่องเวลาจะถูกใจแน่ ๆ เพราะวันนี้เอริจะมาแชร์เรื่องวิธีการบอกเวลาเป็นภาษาญี่ปุ่น ที่นักเรียนหลาย ๆ คนต่างบอกเป็นเสียงเดียวว่ามันจำยากอ่าเซ~ จริง ๆ แล้วถ้าเราค่อย ๆ จำเป็นระบบ ใช้เวลาไม่นานก็จะจำได้แม่นอย่างแน่นอนค่ะ ᐠ(  ᐢ ᵕ ᐢ )ᐟ

การนับเลขในภาษาญี่ปุ่น

ก่อนอื่นมารู้จักการนับเลขของญี่ปุ่นกันก่อนค่ะ ภาษาญี่ปุ่นมีความแตกต่างกับภาษาอื่น ๆ ที่เมื่อนับเลขแล้ว สามารถเอาเลขไปรวมเข้ากับลักษณะนามเพื่อนับได้ทันที อย่างเช่น 1+คัน, 2+คน, 3+หลัง แต่ในภาษาญี่ปุ่น เมื่อเราจะนำตัวเลขไปนับอะไรก็ตาม ตัวเลขแต่ละตัวจะมีการเปลี่ยนเสียงเฉพาะไปเพื่อใช้นับสิ่งต่าง ๆ อย่างเจาะจงค่ะ ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ายากจัง ทางที่ดีพยายามอย่านำไปเปรียบเทียบกับภาษาอื่นค่ะ ให้ทำความเข้าใจว่านี่คือธรรมชาติของภาษา เมื่อเข้าใจจุดนี้ ความรู้สึกว่ายาก ก็จะค่อย ๆ หายไปเองนะคะ ( ⁎ᵕᴗᵕ⁎ )❤︎

เรียนภาษาญี่ปุ่น บอกเวลา

แนะนำให้อ่าน : に出る และ を出る ต่างกันยังไง ? อย่าให้ข้อสอบหลอกเราได้!

การบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นนิยมบอกเวลากันด้วยระบบ 12 ชั่วโมง และแบ่งเป็นแบบ A.M. (ช่วง 00.00-11.59) และ P.M. (ช่วง 12.00-23.59) ค่ะ จะมีบ้างที่ใช้รูปแบบ 24 ชั่วโมง เช่น กรณีที่ประกาศข่าวสารอย่างเป็นทางการ กรณีนัดหมายสำคัญ กรณีพูดทวนข้อมูลเกี่ยวกับเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อเลี่ยงการเข้าใจผิดหรือการฟังผิดที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการออกเสียงตัวเลขที่คล้ายคลึงกันนั่นเอง ส่วนที่เราจะไปฝึกฝนกันในวันนี้ คือการบอกเวลารูปแบบที่นิยมทั่วไป คือระบบ 12 ชั่วโมงค่ะ

บอกชั่วโมงเป็นภาษาญี่ปุ่น

一時                            อิจิจิ                             ตี 1 / บ่ายโมง

二時                            นิจิ                               ตี 2 / บ่าย 2

三時                            ซันจิ                             ตี 3 / บ่าย 3

*四時                          โยะจิ                            ตี 4 / 4 โมงเย็น

五時                            โกะจิ                            ตี 5 / 5โมงเย็น

六時                            โระคุจิ                          6 โมงเช้า / 6 โมงเย็น

*七時                          ชิจิจิ                             7 โมงเช้า / 1 ทุ่ม

八時                            ฮะจิจิ                           8 โมงเช้า / 2 ทุ่ม

九時                          คุจิ                               9 โมงเช้า / 3 ทุ่ม

十時                            จูจิ                                10 โมงเช้า / 4 ทุ่ม

十一時                        จู-อิจิจิ                          11 โมงเช้า / 5 ทุ่ม

十二時                        จู-นิจิ                            เที่ยงวัน / เที่ยงคืน

ตัวเลขที่มีดอกจันทร์เป็นตัวเลขที่เมื่อนับเวลาแล้วจะออกเสียงเปลี่ยนไปจากเวลานับตามปกติ ต้องระมัดระวังนะคะ

ถาม-ตอบเกี่ยวกับเรื่องเวลาง่าย ๆ

คราวนี้เรามาลองถามเวลากันค่ะ ถ้าเราอยากจะถามเวลา มีประโยคง่าย ๆ ที่เอริอยากแนะนำ 3 ประโยคต่อไปนี้ค่ะ

1. ถามว่า “ตอนนี้กี่โมงแล้วคะ”
今、何時ですか。(อิหมะ นันจิ เดสกะ)               
= ตอนนี้กี่โมงแล้วคะ ?

2. ถามว่า “ที่…เปิดทำการกี่โมงถึงกี่โมง)
~は 何時から何時までですか。(…วะ นันจิคะระ นันจิมะเดะ เดสกะ)
= …นี่เปิดตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมงคะ ?

3. ถามว่า “ทำ….ตอนกี่โมง ?”
何時に ~ か。(นันจินิ … กะ)
= สามารถใส่คำศัพท์ที่เป็นกริยาลงไปได้เลยค่ะ เช่น

何時にご飯を食べますか。(นันจินะ โกะฮัง โอะ ทะเบะมัสกะ)
= จะกินข้าวกี่โมงคะ ?

何時に寝ますか。(นันจินิ เนะมัสกะ)
= จะนอนกี่โมงคะ ?

何時に行きますか。(นันจินิ อิคิมัสกะ)
= จะไปกี่โมงคะ ?

คอร์สติวสอบมินนะโนะนิฮงโกะ

แนะนำให้อ่าน : ทำความรู้จักกับ “โคโดโมะโนะฮิ” วันเด็กญี่ปุ่น กันดีกว่า

การตอบคำถามเกี่ยวกับเวลา

เมื่อเรียนรู้วิธีการถามไปแล้ว ต่อไปมาเรียนวิธีการตอบคำถามกันบ้างนะคะ ซึ่งวิธีการตอบไม่ยากเลยค่ะ

1. บอกว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว
今、もうすぐ九時です。(อิหมะ โม่สุงุ คุจิเดส)
= ตอนนี้ ใกล้จะ 9 โมงแล้วค่ะ

今、ちょうど四時です。(อิหมะ โจโดะ โยะจิเดส)
= ตอนนี้ก็ 4 โมง พอดีเป๊ะ เลยค่ะ

今、七時ちょっとすぎです。(อิหมะ ชิจิจิ จตโตะ สุงิ เดส)
= ตอนนี้ เลย 7 โมง มานิดหน่อย แล้วค่ะ

2. บอกว่าจุดเริ่มและจุดจบของเวลา เช่น เปิดปิดกี่โมง ประชุมกี่โมงถึงกี่โมง
会議は十時から十二時までです。(ไคหงิ วะ จูจิคะระ จูนิจิมะเดะเดส)
= การประชุมจะเริ่มตั้งแต่ 10 โมงไปจนถึงเที่ยง

銀行は八時から三時までです。(กิงโควะ ฮะจิจิ คะระ ซันจิ มะเดะเดส)
= ธนาคารเปิดตั้งแต่ 8 โมง ถึงบ่าย 3

3. บอกว่าจะทำอะไร ตอนกี่โมง
五時にご飯を食べます。(โกะจินิ โกะฮังโอะ ทะเบะมัส)
= จะกินข้าวตอน 5 โมง

二時に寝ます。(นิจินิ เนะมัส)
= จะนอนตอนตี 2

四時に行きます。(โยะจินิ อิคิมัส)
= จะไปตอน 4 โมง

กรณีต้องการบอกเวลาอย่างชัดเจนว่าเป็นช่วงเช้าหรือเย็น

ตัวเลข 1 ตัวสามารถบอกเวลาได้ทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยคนญี่ปุ่นจะดูจากสถานการณ์ ณ ตอนที่คุยกัน แล้วสามารถเดาความหมายได้ ว่าหมายถึงเวลาในตอนไหน แต่หากจำเป็นต้องระบุช่วงเวลาให้ชัดเจน เช่น นัดหมาย ตารางเดินทาง สามารถระบุ โดยใส่คำว่า 午前(โกะเซ็น) หมายถึงช่วงเวลา A.M. และ 午後 (โกะโงะ) หมายถึงช่วงเวลา P.M. เอาไว้ข้างหน้าเวลาที่ต้องการบอกได้เลย

明日、午後五時に あいましょう。(อะชิตะ โกะโงะ โกะจิ นิ ไอมะโชว)
= เจอกันพรุ่งนี้ 5 โมงเย็นนะ

昨日、午前3二時 寝ました。(คิโน่ โกะเซ็น ซันจินิ เนะมะชิตะ)
= เมื่อวานนอนตอนตี 3

ข้อสรุป

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับการบอกเวลาเป็นภาษาญี่ปุ่น ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ ? เพียงแค่ค่อย ๆ สังเกตประโยคและนำคำศัพท์มาแทนที่ลงไป ฝึกใช้บ่อย ๆ ก็จะสามารถใช้งานได้คล่องแคล่วเลยค่ะ สำหรับวันนี้นำวิธีบอกชั่วโมงของเข็มสั้นมาฝากกันก่อน คราวหน้าจะนำเอาวิธีการบอกนาทีของเข็มยาวมาฝากกันนะคะ ใครสนใจทบทวนเรื่องการบอกเวลา และคำช่วยเกี่ยวกับการบอกเวลาอย่างละเอียด เอริแนะนำ คอร์สมินนะโนะนิฮงโกะ 1 มีไวยากรณ์เรื่องการบอกเวลา ที่ใช้ร่วมกับกริยาต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยค่ะ หากสนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์กับเรา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดคอร์สต่าง ๆ ได้ผ่านทางเพจเรียนภาษาญี่ปุ่นกับเอริได้เลย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save